สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

วิชาการจัดการโลจิสติกส์มุ่งเน้น
1. ผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานด้านการจัดการโลจิสติกส์โดยเน้นการฝึกปฏิบัติงานภายใต้สถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
2. สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการด้านการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ตามภารกิจแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย
3. พัฒนา ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องในการผลิตบัณฑิต

"มุ่งผลิตผู้ประกอบการโลจิสติกส์ เน้นฝึกปฏิบัติจริงภายใต้สถานประกอบการชั้นนำ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ประเทศไทย"

โอกาสในการประกอบอาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ได้แก่
  • ฝ่ายโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
  • ฝ่ายการขนส่ง
  • ฝ่ายจัดซื้อ
  • ฝ่ายผลิต
  • ฝ่ายจัดส่ง
  • ฝ่ายคลังสินค้าและพัสดุ
  • ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ
  • นักวิเคราะห์ด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
  • นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิตหรือการกระจายสินค้า
  • นักวิชาการ
  • รับราชการ
คุณสมบัติผู้สมัคร
  • 1.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
  • 2. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือเคยศึกษาขั้นปริญญาตรีจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  • 3. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
ค่าเล่าเรียน
  • เทอมละ 30,000 บาท ตลอดหลักสูตร
เงินกู้เพื่อการศึกษา
  • สามารถทำเรื่องกู้ยืม กยศ.ได้ ตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด
ชื่อปริญญา

บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
Bachelor of Business Administration (Logistics Management)

คณะ-สาขา

คณะบริหารธุรกิจ
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

ภาพกิจกรรมทางสาขา