สาขาวิชาการบัญชี

วิชาการบัญชี มีความเป็นศาสตร์และศิลป์อยู่ด้วยกัน เนื้อหาสาระครอบคลุมทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ มีความเป็นสากลเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีลักษณะเป็นพหุวิทยาการ การศึกษาในหลักสูตรบัญชีจึงเป็นกระบวนการการพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้มีความรอบรู้ในศาสตร์และความสามารถทางวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐานสากล รวมทั้งศาสตร์อื่นที่สัมพันธ์กัน โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีวิธีเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ คุณค่าแห่งวิชาชีพ และจรรยาบรรณในวิชาชีพการบัญชี จะช่วยให้บัณฑิตมีชีวิตที่มีคุณค่าอย่างคนสมบูรณ์และความสามารถดำรงชิวิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง

"สร้างสรรค์นักบัญชีวิชาชีพอาเซียน สู่การเป็นคู่คิดผู้ประกอบการยุคดิจิทัล"

โอกาสในการประกอบอาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในลักษณะของการประกอบวิชาชีพอิสระและการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้ง ภาครัฐและเอกชนดังต่อไปนี้
  • ผู้ทำบัญชี
  • ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร
  • ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
  • ผู้ตรวจสอบภายใน
  • เจ้าหน้าที่สรรพากร
  • เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดิน
  • ผู้วางระบบบัญชี
  • นักวิชาการทางด้านบัญชี
  • อาจารย์
  • พนักงาน/ เจ้าหน้าที่ฝ่าย/แผนก บัญชีและการเงิน
  • เจ้าหน้าที่/พนักงาน ธนาคารหรือสถาบันการเงิน
  • ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี
คุณสมบัติผู้สมัคร
  • 1.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
  • 2.เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือเคยศึกษาขั้นปริญญาตรีจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  • 3.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
ค่าเล่าเรียน เงินกู้เพื่อการศึกษา
  • สามารถทำเรื่องกู้ยืม กยศ.ได้ ตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด
ชื่อปริญญา

บัญชีบัณฑิต
Bachelor of Accountancy

คณะ-สาขา

คณะ คณะบริหารธุรกิจ
สาขา วิชาการบัญชี